วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปฏิบัติหน้าที่ราชการของ รร.จปร. ต้องเป็นไปตาม หลักนิติธรรม






“การปฏิบัติหน้าที่ราชการของ รร.จปร. ต้องเป็นไปตาม   หลักนิติธรรม
                                                                                                                                พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
                            ๑.  รัฐธรรมนูญฯ ..๒๕๕๐ บัญญัติให้การปฏิบัติหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม (The Rule of Law)[1]
๒. หลักนิติธรรม(The Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคล[2]
                ๓.  การปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือเรียกว่าการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
๓.๑  การกำหนดนโยบาย    
๓.๒  การปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด   
                                   ๓.๓   การบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด  (Law  enforcement)  และ   
๓.๔  การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
                 หลักนิติธรรม(The Rule of Law) นำมาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการได้ในกรณี  ๓.๓  การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด  (Law  enforcement)[3]

              ๔.  ดังนั้น รร.จปร. จึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม  ด้วยการ 
๔.๑   การตรากฎหมาย(โดยการเสนอร่างกฎหมาย) ออกกฎข้อบังคับ และแบบธรรมเนียม ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม
                                ๔.๒   ยึดหลักกฎหมายกฎข้อบังคับ และแบบธรรมเนียม โดยการ ใช้และแปลให้เป็นธรรม ถ้ากฎหมายหรือแบบธรรมเนียม มีช่องว่าง ต้อง ใช้ดุลพินิจให้เป็นธรรม 
                                ๔.๓ ถ้ามีกำลังพลละเมิดกฎหมายกฎข้อบังคับหรือแบบธรรมเนียม   ต้องเข้าสู่กระบวนการตามที่กฎหมายกฎข้อบังคับ หรือแบบธรรมเนียมกำหนด โดยได้รับการปฏิบัติที่ยุติธรรมเสมอภาคกัน (มาตรฐานเดียวกัน)
                ๕.  เมื่อ รร.จปร. กำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดๆแล้ว ต้องดำเนินการไปตามนั้น  การใช้ดุลพินิจให้แตกต่างไปจากที่กำหนด   เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  โดยศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเป็นหลักปฏิบัติราชการดังนี้
หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องผูกพันกับหลักเกณฑ์หรือประกาศที่ตนเองกำหนดไว้ การใช้ดุลพินิจดำเนินการเป็นอย่างอื่นอันแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์หรือประกาศที่กำหนดไว้ดังกล่าว ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ[4]

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞








[1] รัฐธรรมนูญฯ ..๒๕๕๐ มาตรา ๓ วรรคสอง,๗๘(๔)(๖)
[2] ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี .. ๒๕๔๒
[3] ดร.วิษณุ  เครืองาม  คำบรรยาย  ประชุมทางวิชาการ  หลักนิติธรรมกับทหาร  วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพ ฯ
[4] คำวินิจฉัย ศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๒/๒๕๔๗ หน้า ๒๘-๓๐ สรุป แนวทางการปฏิบัติราชการ  จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด  เรื่อง การบริหารงานบุคคลภาครัฐ  สำนักงานศาลปกครอง กันยายน ๒๕๕๐

ทำงานไม่ก้าวหน้า / เฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว....ปลด





“ ทำงานไม่ก้าวหน้า / เฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว....ปลด ”
                                                                                       พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

                ประเด็นตามที่ตั้งหัวเรื่อง มีปรากฏตามคำสั่งกองทัพบกสองฉบับด้วยกัน โดยคำสั่งแรกได้กำหนดหลักเกณฑ์ของคำว่า “รับราชการนาน”  และ “สูงอายุ”    ส่วนคำสั่งที่สองได้ให้หลักเกณฑ์ของคำว่า “ทำงานไม่ก้าวหน้า”  และ “ทำงานเฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว” ไว้ดังนี้คือ
ฉบับแรก      คำสั่งกองทัพบก  ที่ ๑๗๖/๒๕๐๘              เรื่อง การหมุนเวียนกำลังพล ลง ๑๐ มิ..๐๘   ได้วางหลักเกณฑ์การปลดข้าราชการ ๓ กรณี แต่จะขอนำหลักเกณฑ์การปลดในกรณี รับราชการนานและทำงานไม่ก้าวหน้า/สูงอายุ ทำงานเฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว ตามข้อ ๒และ๓ มาร่วมกันพิจารณาคือ
 (ข้อ ๑. การปลดข้าราชการออกจากประจำการทันที ฯ )
ข้อ ๒. การปลดข้าราชการที่มีวันรับราชการนานและทำงานไม่ก้าวหน้า
.๑ ข้าราชการที่มีวันรับราชการนานให้ถือเกณฑ์ต่อไปนี้
..๑ ชั้นนายร้อยหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๒๕ ปีขึ้นไป
..๒ ชั้นนายพันหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป
..๓ ชั้นนายพลหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป
..๔ ชั้นประทวนหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป
วันรับราชการในที่นี้ให้นับเฉพาะเวลารับราชการจริง ไม่รวมเวลารับราชการทวีคูณ
ข้อ ๓. การปลดข้าราชการที่สูงอายุ ทำงานเฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว
.๑ ข้าราชการที่นับว่าสูงอายุ ให้ถือเกณฑ์ดังต่อไปนี้
..๑ ชั้นนายร้อยหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๔๕ ปี
..๒ ชั้นนายพันหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๕๐ ปี
..๓ ชั้นนายพลหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๕๕ ปี
..๔ ชั้นประทวนหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๕๐ ปี
การคิดอายุให้คิดถึง ต..ของปีนั้น ๆ

ฉบับที่สอง  ตามผนวก ก แนวทางรับราชการของนายทหารสัญญาบัตร  (ประกอบคำสั่ง ทบ.ที่ ๘๒๓/๒๕๓๐ ลง ๑ ก..๓๐) ได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ ในประเด็นดังกล่าวไว้ในข้อ ๘ ดังนี้คือ
ข้อ ๘. การปลดออกจากประจำการ ......ให้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาปลดประจำการนายทหารสัญญาบัตร(รวมทั้งชั้นประทวนด้วย) ที่มีวันรับราชการนานและทำงานไม่ก้าวหน้า และนายทหารสัญญาบัตรที่สูงอายุทำงานเฉื่อยชาไม่คล่องแคล่วนอกเหนือจากเกณฑ์วันรับราชการและเกณฑ์อายุที่กำหนดไว้แล้ว ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑๗๖/๒๕๐๘ ลง ๑๐ มิ..๐๘ (เฉพาะที่อยู่ในขอบเขตของแนวทางรับราชการฉบับนี้) ดังนี้คือ
     ๘.๑ นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่จะถือว่าทำงานไม่ก้าวหน้า คือ นายทหารสัญญาบัตรที่ไม่สามารถพัฒนาเลื่อนขึ้นตามแนวทางรับราชการนี้ได้ โดยยังครองตำแหน่งอัตราเดิมจนเงินเดือนเต็มขั้นชั้นยศตามอัตราที่ครองอยู่ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป
     ๘.๒ นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่จะถือว่าทำงานเฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว คือ นายทหารสัญญาบัตรที่มีผลคะแนนจากรายงานประเมินค่าการปฏิบัติงานนายทหาร ต่ำหรือต่ำมากติดต่อกันตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป
     ๘.๓ นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่เข้าเกณฑ์ ตามข้อ ๘.๒ หากอายุยังไม่เข้าเกณฑ์ปลดประจำการได้ ให้พิจารณางดบำเหน็จ หรือไม่ให้เลื่อนขึ้นครองอัตราสูงขึ้นแทนแล้วแต่กรณี

             ท่านผู้อ่าน เมื่อถึงตรงนี้ ลองพิจารณาว่าท่านสามารถปรับอยู่ในข้อใด   สำหรับผู้เขียนเอง....ขอกล่าวคำว่า  “สวัสดี”

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞
ปลดจากราชการ
รับราชการนาน  และ
ทำงานไม่ก้าวหน้า
๑ ชั้นนายร้อยหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๒๕ ปีขึ้นไป
๒ ชั้นนายพันหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป
๓ ชั้นนายพลหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป
๔ ชั้นประทวนหรือเทียบเท่า มีวันรับราชการตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป
นายทหารสัญญาบัตรที่ไม่สามารถพัฒนาเลื่อนขึ้นตามแนวทางรับราชการนี้ได้ โดยยังครองตำแหน่งอัตราเดิมจนเงินเดือนเต็มขั้นชั้นยศตามอัตราที่ครองอยู่ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป

สูงอายุ   และ
ทำงานเฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่ว
๑ ชั้นนายร้อยหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๔๕ ปี
๒ ชั้นนายพันหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๕๐ ปี
๓ ชั้นนายพลหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๕๕ ปี
๔ ชั้นประทวนหรือเทียบเท่า อายุเกิน ๕๐ ปี

นายทหารสัญญาบัตรที่มีผลคะแนนจากรายงานประเมินค่าการปฏิบัติงานนายทหาร ต่ำหรือต่ำมากติดต่อกันตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป



“สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง”




สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง
                                                                                       พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

                ข้อบังคับ กห. ว่าด้วยข้าราชการกลาโหมกับการเมือง พ..๒๔๙๙

๑.            ข้าราชการกลาโหมผู้ใดได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใด ๆ ที่ตั้งโดยชอบด้วย
กฎหมายให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ทอ. หรือ
ส่วนราชการขึ้นตรง กห. หรือ รมว.กห. เพื่อรับอนุญาตก่อน
.          ข้าราชการกลาโหมจะเข้าร่วมประชุมอันเป็นการประชุมของพรรคการเมืองเป็นการส่วนตัวก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องมิใช่ในเวลาราชการ
.           ข้าราชการกลาโหมจะต้องปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือเกี่ยวกับประชาชนด้วยการวางตัว
เป็นกลาง โดยไม่มุ่งหวังประโยชน์ของพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตาม
นโยบายของรัฐบาล และไม่กระทำการให้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง
และแบบธรรมเนียมของทหาร
.           ข้าราชการกลาโหมจะต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้าม ดังต่อไปนี้
Ø ห้ามมิให้ใช้หรือยอมให้ผู้อื่นใช้เขตสถานที่ราชการในกิจการทางการเมือง ไม่ว่าด้วย
การกระทำหรือด้วยวาจา ยกเว้นสโมสรซึ่งมีระเบียบการให้ใช้ในกิจการต่าง ๆ ได้เป็นครั้ง
คราวโดยเสียค่าบริการ
Ø ไม่วิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลให้ปรากฎแก่ประชาชน
Ø ไม่แต่งเครื่องแบบซึ่งทางราชการกำหนดไว้ร่วมประชุมพรรคการเมืองหรือไปร่วมประชุมใน
ที่สาธารณะใด ๆ อันเป็นการประชุมที่มีลักษณะทางการเมือง
Ø ไม่ประดับเครื่องหมายของพรรคการเมืองในสถานที่ราชการ หรือในเวลาราชการ หรือ
ในเวลาสวมเครื่องแบบซึ่งทางราชการกำหนดไว้
Ø ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมืองเข้าไปในสถานที่ราชการทุก ๆ แห่ง
Ø ไม่บังคับผู้อยู่ในบังคับบัญชาหรือประชาชนทั้งโดยตรงหรือโดยปริยายให้เป็นสมาชิก
ในพรรคการเมืองใด และไม่กระทำการในทางให้คุณหรือโทษเฉพาะเหตุที่ผู้อยู่ในบังคับ
บัญชาหรือประชาชนนิยมหรือเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใดที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วย
กฎหมาย
สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง

Ø ไม่ทำ การขอร้องหรือบังคับให้บุคคลใดอุทิศเงิน หรือทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์
แก่พรรคการเมือง
Ø ไม่เขียนจดหมาย หรือบทความไปลงหนังสือพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือหรือใบปลิว ซึ่งจะ
จำหน่ายแจกจ่ายไปยังประชาชนอันมีข้อความที่เป็นลักษณะของการเมือง และไม่โฆษณา
หาเสียงเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมืองหรือแสดงการสนับสนุนพรรคการเมืองใด ๆ ในที่ที่
ปรากฎแก่ประชาชน
Ø ไม่แทรกแซงในทางการเมืองหรือใช้การเมืองเป็นเครื่องมือเพื่อกระทำกิจการต่าง ๆ อาทิ
เช่น วิ่งเต้นติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทนหรือสมาชิกวุฒิสภาหรือพรรคการเมืองเพื่อให้นำร่าง
พระราชบัญญัติ หรือญัตติเสนอผู้แทนหรือวุฒิสภา หรือตั้งกระทู้ถามรัฐบาล เป็นต้น
Ø ไม่แสดงออกโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับ
เลือกตั้งในระยะเวลาที่มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน เว้นแต่ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง
ใด ๆ ในพรรคการเมืองให้กระทำการดังกล่าวเช่นนั้นได้ และในทางกลับกัน ไม่กีดกัน
ตำหนิ ติเตียนทับถม หรือให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกตั้ง
Ø ในระยะเวลาที่มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่แสดงออกโดยตรงหรือ
โดยปริยายที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง และในทางกลับกัน
ไม่กีดกัน ตำหนิติเตียน ทับถม หรือให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกตั้ง

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞








เมื่อผู้บังคับบัญชาเลือกปฎิบัติ ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ ผลจะเป็นเช่นไร





เมื่อผู้บังคับบัญชาเลือกปฎิบัติ ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ ผลจะเป็นเช่นไร
                                                                                                                               
พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

ต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ หนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าว  “ศาลอาญา ได้พิพากษาคดี  กรณี อดีตอาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้อง     จำเลยซึ่งประกอบด้วยอดีตอธิการบดี และคณะอาจารย์ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาและหรือทำหน้าที่เป็นกรรมการสอบสวน   ในความผิดอาญาฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ”
ข้อเท็จจริง โจทก์เป็นอาจารย์ประจำได้ทำวิจัยและยื่นผลงานวิจัยกับเอกสารทางวิชาการ เสนอคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผ.ศ.)    ต่อมามีผู้กล่าวหาว่าโจทก์ลอกเลียนผลงานทางวิชาการจากบุคคลอื่น   อดีตอธิการบดีจำเลยได้แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง(ชุดที่๑)สรุปการสอบสวนว่าการกระทำของโจทก์ว่าผิดวินัย จึงมีการตั้ง กรรมการสอบวินัย(ชุดที่๒)   ต่อมากรรมการมีมติให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ
จากนั้นโจทก์ ได้ยื่นอุทธรณ์มติดังกล่าวต่ออนุกรรมการ(ชุดที่๒) ซึ่งก็มีความเห็น(ใหม่)ว่ามิได้กระทำผิด โจทก์นำมติดังกล่าวไปแจ้งคณะกรรมการชุดใหญ่(ชุดที่๑) แต่กลับเพิกเฉยไม่นำเรื่องเสนอโจทก์กลับเข้ารับราชการ ทำให้โจทก์เสียหาย
ท้ายที่สุดศาลอาญาได้พิเคราะห์พยานหลักฐานที่สองฝ่ายนำสืบแล้วเห็นว่า   แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนผลงานทางวิชาการ แต่ก็ได้อ้างอิงแหล่งที่มาไว้ท้ายเล่ม ถือว่าไม่มีเจตนาปกปิด การกระทำของ อดีตอธิการบดีและกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาบางคน เป็นการเลือกปฎิบัติ ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ เป็นการกระทำผิดตามฟ้อง  พิพากษาให้จำคุก ๒ ปี และ๑ ปี   และปรับคนละ ๒๐,๐๐๐ บาทและ ๑๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้กำหนด ๒ ปี
จากกรณีดังกล่าวมีข้อพิจารณาว่า  (ผู้อ่านโปรดพิจารณาร่วมด้วย)
๑.ข้าราชการฯถ้ากระทำในตำแหน่งหน้าที่ ก็ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน ดังนั้นการกระทำอาจเป็นความผิดทางอาญาฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้
๒.การปฏิเสธของจำเลย (อดีตอธิการบดีและกรรมการ)ว่า “ได้รับร้องเรียนเรื่องดังกล่าว จึงตั้งคณะทำงานสอบสวนข้อเท็จจริงตามขั้นตอน และรับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายไปตามอำนาจหน้าที่และหลักวิชาการ ไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง” นั้น ศาลไม่เห็นพ้องด้วย
๓.คดีนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นการลอกเลียนผลงานทางวิชาการแล้ว  แต่ศาลให้ความสำคัญตรงที่ว่า  “มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาหรือไม่”    ดังนั้น การ “ลอกเลียน” กับ “การปกปิดแหล่งที่มา” เป็นคนละประเด็นกัน
๔.การปลดโจทก์(อาจารย์)ด้วยข้อหาว่ากระทำผิดวินัย ซึ่งศาลเชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของข้อมูลทางวิชาการที่ลอกเลียน  อาจถือตามคดีนี้ได้ว่า “ การลอกเลียน ถ้าได้อ้างอิงแหล่งที่มาไว้ท้ายเล่มแล้ว ถือว่าไม่มีเจตนาปกปิด ไม่เป็นความผิดทางวินัย”  และในทางกลับกัน “ลอกเลียนไม่อ้างอิงแหล่งที่มา ถือว่ามีเจตนาปกปิด เป็นความผิดทางวินัย”  (และเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณด้วย )
๕.การลอกเลียนผลงานทางวิชาการ ถ้าได้อ้างอิงแหล่งที่มาไว้ท้ายเล่ม ศาลในคดีนี้ถือว่าไม่มีเจตนาปกปิด เนื่องจากข้อเท็จจริงนี้เกิดขึ้นในคดีอาญา ถ้าเป็นคดีทรัพย์สินทางปัญญา อาจถือว่าเป็นละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว(ข่าวสารสภาอาจารย์ สกศ.รร.จปร. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓๘หน้า ๕๕ .. “เขียนงานวิจัยอย่างไรไม่ติดคุก”)  ดังนั้นการกระทำ(ลอกเลียน)ครั้งเดียวกันอาจเป็นความผิดได้ทั้งทางวินัย และการละเมิดลิขสิทธิ์
๖.อธิการบดี(จำเลย)ใช้การดำเนินการทางวินัยกับอาจารย์(โจทก์)   แต่อาจารย์เลือกฟ้องคดีอาญา(ซึ่งสามารถใช้การร้องเรียนทางวินัยและฟ้องคดีปกครองให้เพิกถอนคำสั่งปลดได้ด้วย)  กรณีวินัยและอาญามีผลต่างกันคือ  คดีวินัยผลร้ายแรงคือถูกปลด  แต่คดีอาญาผลคืออาจถูกจำคุกและปรับ ดังนั้นคดีทางวินัย กับคดีอาญา  เป็นคนละคดีที่มีผลต่างกัน
๗.การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาควรใช้ความระมัดระวังเพราะอาจเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฯอันจะทำให้เป็นความผิดทางอาญาได้
๘.การที่ศาลตัดสินว่าการกระทำของอธิการบดี “เป็นการเลือกปฎิบัติ ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ” นั้น น่าจะเป็นเพราะ เมื่อศาลพิจารณาว่า –การกระทำของอาจารย์ไม่เป็นการปกปิด –ก็เท่ากับว่าไม่ได้ทำผิดวินัย –การที่ไปเล่นงานทางวินัยโดยที่เขาไม่ผิดจึงเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ –การใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบเท่ากับปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดทางอาญา 
๙.เห็นได้ว่าศาลอาจจะนำข้อเท็จจริงที่ว่า “อาจารย์ได้อุทธรณ์ต่อกรรมการชุดที่๒ และกรรมการเห็นด้วยว่าไม่ผิด และอาจารย์ได้แจ้งคณะกรรมการชุดที่๑ แต่กลับเพิกเฉยไม่นำเรื่องเสนอให้โจทก์กลับเข้ารับราชการทำให้เสียหาย” มาประกอบการวินิจฉัยตามข้อที่แล้วด้วย
๑๐.จากคำถามที่ว่า “เมื่อผู้บังคับบัญชาเลือกปฎิบัติ ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ ผลจะเป็นเช่นไร”นั้น  ตอบได้ว่า ผู้บังคับบัญชาอาจถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และอาจถูกศาลตัดสินให้จำคุกได้ด้วย
คดีนี้เป็นการตัดสินในศาลชั้นต้น ยังมีการอุทธรณ์ ฎีกาต่อไป  ฉะนั้นยังไม่ถือว่าเป็นที่สุด โปรดติดตามต่อไป

---------------------------------------

แบบธรรมเนียมของทหารมีอะไรบ้าง


แบบธรรมเนียมของทหารมีอะไรบ้าง[1]
                                                                                                                 พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

แบบธรรมเนียมของทหาร หมายถึง แนวทางปฏิบัติซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เป็นหลักสำหรับปฏิบัติ [2]  และ  หมายรวมถึง  นโยบายของผู้บังคับบัญชา  ด้วย   เช่นผู้บังคับบัญชามีนโยบายห้ามข้าราชการทหารหญิงสวมกางเกง ในเวลาทำการบรรยาย  เป็นต้น[3]

                ตาราง แสดงการเปรียบเทียบลักษณะของกฎหมายกับแบบธรรมเนียม

กฎหมาย
แบบธรรมเนียม
1.  ต้องมีสภาพบังคับเสมอ ผู้ใดฝ่าฝืน
     ต้องรับโทษ
1. มีสภาพบังคับ คือ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องถูกลงทัณฑ์
    ทางวินัย
2. ต้องตราหรือบัญญัติขึ้นโดยผู้มีอำนาจ
2. ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือวางไว้
3. ตราขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของ
    บุคคลทั่วไป
3. ออกหรือวางไว้ให้ทหารทั่วไปปฏิบัติ
4. ต้องมีลักษณะใช้บังคับถาวร จนกว่า
    จะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
    ในภายหลัง
4. ไม่กำหนดเวลาใช้บังคับ แสดงว่าใช้ตลอดไป
     จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
     ในภายหลัง
               
จากตารางจะเห็นได้ว่า กฎหมาย กับแบบธรรมเนียม มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก   อาจกล่าวได้ว่า
                แบบธรรมเนียม มีลักษณะที่เป็น  กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ คำชี้แจง และสรรพหนังสือต่างๆ  ที่ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือวางไว้ ให้ทหารทั่วไปปฏิบัตินั้น  มีสภาพบังคับคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องถูกลงทัณฑ์ทางวินัย และนอกจากมีบังคับทัณฑ์ทางวินัยแล้วยังมีการบังคับทางปกครองด้วย  กล่าวคือ อาจถูกปลดจากประจำการหรือถูกถอดยศจากทหารด้วย   อีกทั้งใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง

                หลักสำคัญ  การออกแบบธรรมเนียมจะต้องอยู่ภายในขอบเขตที่ส่วนราชการนั้นมีอํานาจเท่านั้น หากจะออกแบบธรรมเนียมเกินกว่าที่ตนมีอํานาจอยู่ แบบธรรมเนียมนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ   ดังจะพิจารณาได้จาก  คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ได้ตัดสินตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ. 2539 ให้ไว้เป็นบรรทัดฐานดังนี้
การออกกฎภายในหน่วยงานจะต้องสอดคล้องและไม่เกินขอบเขตของกฎที่เป็นแม่บทที่ให้อำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลจะกำหนดเกินขอบเขตหรือมากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎแม่บทมิได้ กฎใดที่ออกโดยฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว ย่อมเป็นกฎที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย[4]
จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานดังกล่าว  ได้หลักสำคัญอีกประการคือ การออก แบบธรรมเนียม  ของส่วนราชการทหาร  คล้ายกับการออก กฎ ของหน่วยงานตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ   กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ก็คือ  คำว่า   แบบธรรมเนียม  ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารฯ  มีความหมายใกล้เคียงกับ
คำว่า 
 กฎ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กล่าวคือ ตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ วางหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 5  ว่า ในพระราชบัญญัติ กฎ   หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ” 
                จากความหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อสนับสนุนลักษณะและความหมายของคำว่า  แบบธรรมเนียม เพิ่มเติม ว่า  กรณี แบบธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติ   จะต้องเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะอีกด้วย

                สรุป  แบบธรรมเนียมของทหารแบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ
1.  ลักษณะเป็นบทบัญญัติ  ได้แก่ กฎ  ข้อบังคับ  ระเบียบ  คำสั่ง (ทั่วไป)
2. ลักษณะที่ไม่เป็นบทบัญญัติ  ได้แก่  คำแนะนำ  คำชี้แจง  (รวมนโยบายของผู้บังคับบัญชา) และสรรพหนังสือที่ออกโดยทางราชการ  อันได้แก่  ประกาศ   แถลงการณ์   ข่าว รายงานการประชุม(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  บันทึก(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  หนังสือยืนยันการสั่งการด้วยวาจา  และหนังสือยืนยันการสั่งการด้วยเครื่องมือสื่อสาร
                ทั้งสองลักษณะเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือได้วางไว้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติ  ทั้งมีสภาพบังคับคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนอาจถูกลงทัณฑ์ทางวินัย และใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง  กรณี แบบธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติ   จะต้องเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะอีกด้วย
แผนภูมิ แสดงองค์ประกอบของแบบธรรมเนียมของทหาร


  แบบธรรมเนียมของหน่วยเป็นส่วนหนึ่งของแบบธรรมเนียมของทหาร จึง ได้แก่ 
                1. กรณีมีลักษณะเป็นบทบัญญัติ (จะต้องเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ) ได้แก่   ระเบียบ  คำสั่ง(ทั่วไป) 
2. กรณีไม่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติ ได้แก่  คำแนะนำ  คำชี้แจง  (รวมนโยบายของ ผบ.หน่วย) และสรรพหนังสือที่ออกโดย หน่วย อันได้แก่ ประกาศ   ข่าว รายงานการประชุม(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  บันทึก(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  หนังสือยืนยันการสั่งการด้วยวาจา  และหนังสือยืนยันการสั่งการด้วยเครื่องมือสื่อสารที่ ผบ.หน่วย ได้ออกหรือได้วางไว้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติ  ทั้งมีสภาพบังคับคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนอาจถูกลงทัณฑ์ทางวินัย และใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง 
                           แบบธรรมเนียมของหน่วย หมายรวมถึง  กรณี ผบ.หน่วยไม่ได้สั่งการด้วยตนเอง   แต่ให้ผู้มีอำนาจรองลงไป เช่น รองผู้บัญชาการ เสนาธิการ หรือ  รองเสนาธิการ สั่งการแทน และ รวมถึงการให้นโยบาย ให้คำแนะนำ คำชี้แจงโดยผู้ได้รับมอบหมายจาก ผบ.หน่วย ด้วย

ตัวอย่าง
 แบบธรรมเนียมของ รร.จปร.
    แบบธรรมเนียมของ รร.จปร. ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน สามารถแยกตามลักษณะของแบบธรรมเนียมของทหาร ได้เป็น  2  ลักษณะ  4  กลุ่ม ดังนี้
1.   ลักษณะเป็นบทบัญญัติ(กลุ่มที่ ๑)  ระเบียบ  คำสั่ง   รร.จปร. ตั้งแต่  อตีต - ปัจจุบัน
                2.  ลักษณะไม่เป็นบทบัญญัติ(กลุ่มที่ ๒-๔) สั่งการ(นอกจากระเบียบ คำสั่ง)  คำแนะนำคำชี้แจงและนโยบายของ ผบ.รร.จปร.   ดังนี้    
2.1       สั่งการ ผบ.รร.จปร.  ต่อ ผบ.นขต.รร.จปร. ในการประชุม ประจำเดือนและ
ในวาระพิเศษ  
             2.2  สั่งการ ผบ.รร.จปร. รวมถึงการ รับคำสั่งหรือทำการแทน ท้ายบันทึกข้อความ
(มีหนังสือเวียนฯ เพื่อทราบ)
                   2.3  สั่งการ ผบ.รร.จปร. ในการพบปะกำลังพล ในโอกาสสำคัญ
ตัวอย่าง  
ลักษณะและรูปแบบของแบบธรรมเนียมของ รร.จปร.

              ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
               กล่าวได้ว่า แบบธรรมเนียม   สามารถใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติราชการของทุกหน่วยงาน   อย่างไรก็ตามเครื่องมือ (แบบธรรมเนียม) จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน  ได้นั้น  ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ดังนี้
1  ผู้บริหารให้ความสำคัญอย่างจริงจัง 
2  ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการและเหตุผลของการออก แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง แบบธรรมเนียม
                                  3  ต้องพัฒนาแบบธรรมเนียมของหน่วย ให้ทันต่อสภาวการณ์ปัจจุบัน
รวมทั้งจะต้องมีการประมวลความรู้  จัดทำ  และปรับปรุงอยู่ตลอด
4 พัฒนาปรับปรุงระบบการสื่อสารเรื่องแบบธรรมเนียมภายในหน่วยให้กำลังพลรับทราบอย่างทั่วถึง
                                 5  ให้กำลังพลทุกนายทราบความหมายและเนื้อหาของ แบบธรรมเนียม
ของหน่วย.”  และมีความซาบซึ้งจนเกิดจิตสำนึกขึ้นในจิตใจของตนเองที่จะปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด  
                               6    ควรมีการติดตามผลการปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมว่ามีการปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่ โดยอาจตั้งผู้ดูแลแบบธรรมเนียมในแต่ละเรื่อง และรายงานผลการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะๆ

                  สรุป
                   แบบธรรมเนียมของทหารมี 2 ลักษณะ 4 รูปแบบ ดังได้กล่าวแล้ว  
                   ถ้ากำลังพล ยึดถือและปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของหน่วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญของแบบธรรมเนียมของทหารได้อย่างครบถ้วนแล้ว นับว่ามีคุณสมบัติคู่ควรกับการเป็นทหาร     แบบธรรมเนียมต้องอยู่ในจิตวิญญาณของทหาร ไม่ใช่แค่กายหรือวาจาเท่านั้น  เพราะว่าใจเป็นหลักสำคัญ  เมื่อใจยึดถือแบบธรรมเนียมได้แล้ว   กาย วาจาย่อมยึดถือตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ชื่อว่ามีแบบธรรมเนียมอยู่ในใจแล้ว  ก็ใช่ว่าจะสามารถระลึกถึงอยู่ได้ตลอดไป  เพราะกำลังพลมักจะทำเรื่องต่างๆ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบด้วยแบบธรรมเนียมไปด้วยความไม่รู้สำนึก   ดังนั้นนอกจากเราจะต้องมีแบบธรรมเนียมอยู่ที่ใจแล้ว   ต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาด้วย [1]


[1] ประมวลจาก  สนอง   วรอุไร, ด็อกเตอร์  ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ (หน้า 17) สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพ  2551






                     1  บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะแบบธรรมเนียมที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
[2] http://www.dmbcrtaf.thaigov.net/lawrtaf.htm
[3] พ.อ.ธานินทร์   ทุนทุสวัสดิ์,  คู่มือประกอบการบรรยายวิชาว่าด้วยวินัยทหาร โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ
[4]  คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ .58/2550 สรุป แนวทางการปฏิบัติราชการ จาก
คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด
  เรื่อง การบริหารงานบุคคลภาครัฐ สำนักงานศาลปกครอง กันยายน 2550 (หน้า 19-20)