วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แบบธรรมเนียมของทหารมีอะไรบ้าง


แบบธรรมเนียมของทหารมีอะไรบ้าง[1]
                                                                                                                 พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

แบบธรรมเนียมของทหาร หมายถึง แนวทางปฏิบัติซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เป็นหลักสำหรับปฏิบัติ [2]  และ  หมายรวมถึง  นโยบายของผู้บังคับบัญชา  ด้วย   เช่นผู้บังคับบัญชามีนโยบายห้ามข้าราชการทหารหญิงสวมกางเกง ในเวลาทำการบรรยาย  เป็นต้น[3]

                ตาราง แสดงการเปรียบเทียบลักษณะของกฎหมายกับแบบธรรมเนียม

กฎหมาย
แบบธรรมเนียม
1.  ต้องมีสภาพบังคับเสมอ ผู้ใดฝ่าฝืน
     ต้องรับโทษ
1. มีสภาพบังคับ คือ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องถูกลงทัณฑ์
    ทางวินัย
2. ต้องตราหรือบัญญัติขึ้นโดยผู้มีอำนาจ
2. ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือวางไว้
3. ตราขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของ
    บุคคลทั่วไป
3. ออกหรือวางไว้ให้ทหารทั่วไปปฏิบัติ
4. ต้องมีลักษณะใช้บังคับถาวร จนกว่า
    จะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
    ในภายหลัง
4. ไม่กำหนดเวลาใช้บังคับ แสดงว่าใช้ตลอดไป
     จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
     ในภายหลัง
               
จากตารางจะเห็นได้ว่า กฎหมาย กับแบบธรรมเนียม มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก   อาจกล่าวได้ว่า
                แบบธรรมเนียม มีลักษณะที่เป็น  กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ คำชี้แจง และสรรพหนังสือต่างๆ  ที่ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือวางไว้ ให้ทหารทั่วไปปฏิบัตินั้น  มีสภาพบังคับคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องถูกลงทัณฑ์ทางวินัย และนอกจากมีบังคับทัณฑ์ทางวินัยแล้วยังมีการบังคับทางปกครองด้วย  กล่าวคือ อาจถูกปลดจากประจำการหรือถูกถอดยศจากทหารด้วย   อีกทั้งใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง

                หลักสำคัญ  การออกแบบธรรมเนียมจะต้องอยู่ภายในขอบเขตที่ส่วนราชการนั้นมีอํานาจเท่านั้น หากจะออกแบบธรรมเนียมเกินกว่าที่ตนมีอํานาจอยู่ แบบธรรมเนียมนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ   ดังจะพิจารณาได้จาก  คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ได้ตัดสินตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ. 2539 ให้ไว้เป็นบรรทัดฐานดังนี้
การออกกฎภายในหน่วยงานจะต้องสอดคล้องและไม่เกินขอบเขตของกฎที่เป็นแม่บทที่ให้อำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลจะกำหนดเกินขอบเขตหรือมากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎแม่บทมิได้ กฎใดที่ออกโดยฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว ย่อมเป็นกฎที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย[4]
จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานดังกล่าว  ได้หลักสำคัญอีกประการคือ การออก แบบธรรมเนียม  ของส่วนราชการทหาร  คล้ายกับการออก กฎ ของหน่วยงานตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ   กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ก็คือ  คำว่า   แบบธรรมเนียม  ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารฯ  มีความหมายใกล้เคียงกับ
คำว่า 
 กฎ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กล่าวคือ ตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ วางหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 5  ว่า ในพระราชบัญญัติ กฎ   หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ” 
                จากความหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อสนับสนุนลักษณะและความหมายของคำว่า  แบบธรรมเนียม เพิ่มเติม ว่า  กรณี แบบธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติ   จะต้องเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะอีกด้วย

                สรุป  แบบธรรมเนียมของทหารแบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ
1.  ลักษณะเป็นบทบัญญัติ  ได้แก่ กฎ  ข้อบังคับ  ระเบียบ  คำสั่ง (ทั่วไป)
2. ลักษณะที่ไม่เป็นบทบัญญัติ  ได้แก่  คำแนะนำ  คำชี้แจง  (รวมนโยบายของผู้บังคับบัญชา) และสรรพหนังสือที่ออกโดยทางราชการ  อันได้แก่  ประกาศ   แถลงการณ์   ข่าว รายงานการประชุม(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  บันทึก(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  หนังสือยืนยันการสั่งการด้วยวาจา  และหนังสือยืนยันการสั่งการด้วยเครื่องมือสื่อสาร
                ทั้งสองลักษณะเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือได้วางไว้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติ  ทั้งมีสภาพบังคับคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนอาจถูกลงทัณฑ์ทางวินัย และใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง  กรณี แบบธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติ   จะต้องเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะอีกด้วย
แผนภูมิ แสดงองค์ประกอบของแบบธรรมเนียมของทหาร


  แบบธรรมเนียมของหน่วยเป็นส่วนหนึ่งของแบบธรรมเนียมของทหาร จึง ได้แก่ 
                1. กรณีมีลักษณะเป็นบทบัญญัติ (จะต้องเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ) ได้แก่   ระเบียบ  คำสั่ง(ทั่วไป) 
2. กรณีไม่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติ ได้แก่  คำแนะนำ  คำชี้แจง  (รวมนโยบายของ ผบ.หน่วย) และสรรพหนังสือที่ออกโดย หน่วย อันได้แก่ ประกาศ   ข่าว รายงานการประชุม(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  บันทึก(สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา)  หนังสือยืนยันการสั่งการด้วยวาจา  และหนังสือยืนยันการสั่งการด้วยเครื่องมือสื่อสารที่ ผบ.หน่วย ได้ออกหรือได้วางไว้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติ  ทั้งมีสภาพบังคับคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนอาจถูกลงทัณฑ์ทางวินัย และใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง 
                           แบบธรรมเนียมของหน่วย หมายรวมถึง  กรณี ผบ.หน่วยไม่ได้สั่งการด้วยตนเอง   แต่ให้ผู้มีอำนาจรองลงไป เช่น รองผู้บัญชาการ เสนาธิการ หรือ  รองเสนาธิการ สั่งการแทน และ รวมถึงการให้นโยบาย ให้คำแนะนำ คำชี้แจงโดยผู้ได้รับมอบหมายจาก ผบ.หน่วย ด้วย

ตัวอย่าง
 แบบธรรมเนียมของ รร.จปร.
    แบบธรรมเนียมของ รร.จปร. ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน สามารถแยกตามลักษณะของแบบธรรมเนียมของทหาร ได้เป็น  2  ลักษณะ  4  กลุ่ม ดังนี้
1.   ลักษณะเป็นบทบัญญัติ(กลุ่มที่ ๑)  ระเบียบ  คำสั่ง   รร.จปร. ตั้งแต่  อตีต - ปัจจุบัน
                2.  ลักษณะไม่เป็นบทบัญญัติ(กลุ่มที่ ๒-๔) สั่งการ(นอกจากระเบียบ คำสั่ง)  คำแนะนำคำชี้แจงและนโยบายของ ผบ.รร.จปร.   ดังนี้    
2.1       สั่งการ ผบ.รร.จปร.  ต่อ ผบ.นขต.รร.จปร. ในการประชุม ประจำเดือนและ
ในวาระพิเศษ  
             2.2  สั่งการ ผบ.รร.จปร. รวมถึงการ รับคำสั่งหรือทำการแทน ท้ายบันทึกข้อความ
(มีหนังสือเวียนฯ เพื่อทราบ)
                   2.3  สั่งการ ผบ.รร.จปร. ในการพบปะกำลังพล ในโอกาสสำคัญ
ตัวอย่าง  
ลักษณะและรูปแบบของแบบธรรมเนียมของ รร.จปร.

              ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
               กล่าวได้ว่า แบบธรรมเนียม   สามารถใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติราชการของทุกหน่วยงาน   อย่างไรก็ตามเครื่องมือ (แบบธรรมเนียม) จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน  ได้นั้น  ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ดังนี้
1  ผู้บริหารให้ความสำคัญอย่างจริงจัง 
2  ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการและเหตุผลของการออก แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง แบบธรรมเนียม
                                  3  ต้องพัฒนาแบบธรรมเนียมของหน่วย ให้ทันต่อสภาวการณ์ปัจจุบัน
รวมทั้งจะต้องมีการประมวลความรู้  จัดทำ  และปรับปรุงอยู่ตลอด
4 พัฒนาปรับปรุงระบบการสื่อสารเรื่องแบบธรรมเนียมภายในหน่วยให้กำลังพลรับทราบอย่างทั่วถึง
                                 5  ให้กำลังพลทุกนายทราบความหมายและเนื้อหาของ แบบธรรมเนียม
ของหน่วย.”  และมีความซาบซึ้งจนเกิดจิตสำนึกขึ้นในจิตใจของตนเองที่จะปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด  
                               6    ควรมีการติดตามผลการปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมว่ามีการปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่ โดยอาจตั้งผู้ดูแลแบบธรรมเนียมในแต่ละเรื่อง และรายงานผลการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะๆ

                  สรุป
                   แบบธรรมเนียมของทหารมี 2 ลักษณะ 4 รูปแบบ ดังได้กล่าวแล้ว  
                   ถ้ากำลังพล ยึดถือและปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของหน่วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญของแบบธรรมเนียมของทหารได้อย่างครบถ้วนแล้ว นับว่ามีคุณสมบัติคู่ควรกับการเป็นทหาร     แบบธรรมเนียมต้องอยู่ในจิตวิญญาณของทหาร ไม่ใช่แค่กายหรือวาจาเท่านั้น  เพราะว่าใจเป็นหลักสำคัญ  เมื่อใจยึดถือแบบธรรมเนียมได้แล้ว   กาย วาจาย่อมยึดถือตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ชื่อว่ามีแบบธรรมเนียมอยู่ในใจแล้ว  ก็ใช่ว่าจะสามารถระลึกถึงอยู่ได้ตลอดไป  เพราะกำลังพลมักจะทำเรื่องต่างๆ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบด้วยแบบธรรมเนียมไปด้วยความไม่รู้สำนึก   ดังนั้นนอกจากเราจะต้องมีแบบธรรมเนียมอยู่ที่ใจแล้ว   ต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาด้วย [1]


[1] ประมวลจาก  สนอง   วรอุไร, ด็อกเตอร์  ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ (หน้า 17) สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพ  2551






                     1  บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะแบบธรรมเนียมที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
[2] http://www.dmbcrtaf.thaigov.net/lawrtaf.htm
[3] พ.อ.ธานินทร์   ทุนทุสวัสดิ์,  คู่มือประกอบการบรรยายวิชาว่าด้วยวินัยทหาร โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ
[4]  คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ .58/2550 สรุป แนวทางการปฏิบัติราชการ จาก
คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด
  เรื่อง การบริหารงานบุคคลภาครัฐ สำนักงานศาลปกครอง กันยายน 2550 (หน้า 19-20)

ไม่มีความคิดเห็น: