วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปฏิบัติหน้าที่ราชการของ รร.จปร. ต้องเป็นไปตาม หลักนิติธรรม






“การปฏิบัติหน้าที่ราชการของ รร.จปร. ต้องเป็นไปตาม   หลักนิติธรรม
                                                                                                                                พ.อ.ชัชวาล  ธรรมนิรัต

หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
                            ๑.  รัฐธรรมนูญฯ ..๒๕๕๐ บัญญัติให้การปฏิบัติหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม (The Rule of Law)[1]
๒. หลักนิติธรรม(The Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคล[2]
                ๓.  การปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือเรียกว่าการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
๓.๑  การกำหนดนโยบาย    
๓.๒  การปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด   
                                   ๓.๓   การบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด  (Law  enforcement)  และ   
๓.๔  การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
                 หลักนิติธรรม(The Rule of Law) นำมาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการได้ในกรณี  ๓.๓  การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด  (Law  enforcement)[3]

              ๔.  ดังนั้น รร.จปร. จึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม  ด้วยการ 
๔.๑   การตรากฎหมาย(โดยการเสนอร่างกฎหมาย) ออกกฎข้อบังคับ และแบบธรรมเนียม ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม
                                ๔.๒   ยึดหลักกฎหมายกฎข้อบังคับ และแบบธรรมเนียม โดยการ ใช้และแปลให้เป็นธรรม ถ้ากฎหมายหรือแบบธรรมเนียม มีช่องว่าง ต้อง ใช้ดุลพินิจให้เป็นธรรม 
                                ๔.๓ ถ้ามีกำลังพลละเมิดกฎหมายกฎข้อบังคับหรือแบบธรรมเนียม   ต้องเข้าสู่กระบวนการตามที่กฎหมายกฎข้อบังคับ หรือแบบธรรมเนียมกำหนด โดยได้รับการปฏิบัติที่ยุติธรรมเสมอภาคกัน (มาตรฐานเดียวกัน)
                ๕.  เมื่อ รร.จปร. กำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดๆแล้ว ต้องดำเนินการไปตามนั้น  การใช้ดุลพินิจให้แตกต่างไปจากที่กำหนด   เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  โดยศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเป็นหลักปฏิบัติราชการดังนี้
หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องผูกพันกับหลักเกณฑ์หรือประกาศที่ตนเองกำหนดไว้ การใช้ดุลพินิจดำเนินการเป็นอย่างอื่นอันแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์หรือประกาศที่กำหนดไว้ดังกล่าว ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ[4]

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞








[1] รัฐธรรมนูญฯ ..๒๕๕๐ มาตรา ๓ วรรคสอง,๗๘(๔)(๖)
[2] ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี .. ๒๕๔๒
[3] ดร.วิษณุ  เครืองาม  คำบรรยาย  ประชุมทางวิชาการ  หลักนิติธรรมกับทหาร  วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพ ฯ
[4] คำวินิจฉัย ศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๒/๒๕๔๗ หน้า ๒๘-๓๐ สรุป แนวทางการปฏิบัติราชการ  จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด  เรื่อง การบริหารงานบุคคลภาครัฐ  สำนักงานศาลปกครอง กันยายน ๒๕๕๐

ไม่มีความคิดเห็น: