วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จะต้องปฏิบัติตาม “ระเบียบฯ”ที่ออกโดยกระทรวงอื่นหรือไม่

                             จะต้องปฏิบัติตาม “ระเบียบฯ”ที่ออกโดยกระทรวงอื่นหรือไม่

ผู้เขียนได้นำเสนอบทความเรื่อง “การจัดลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย”ลงเสนาศึกษาฉบับล่าสุด มีผู้อ่านท่านหนึ่งกรุณาสอบถามการปฏิบัติตามระเบียบฯซึ่งออกโดยกระทรวงอื่นที่ไม่ใช่กระทรวงกลาโหม มีปัญหาว่าหากในระเบียบมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรา(บุคคลหรือหน่วยงานใน กห.) เช่นนี้เราจะต้องปฏิบัติตามหรือไม่อย่างไร  ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสนี้นำเสนอบทความทางกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจดังนี้
            สรุปการจัดลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมายได้ดังนี้
            “รัฐธรรมนูญ”เป็นกฎหมายสูงสุด
            “กฎหมาย ได้แก่
            1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ/ พระราชบัญญัติ /พระราชกำหนด และ กรณีเรียกชื่อ อย่างอื่น ทั้งหมดนี้ที่ออกตามบทบัญญัติใน“รัฐธรรมนูญ”
            2.พระราชกฤษฎีกา/ กฎกระทรวง และกรณีเรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งหมดนี้ที่ออกตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ
3.“อนุบัญญัติ ได้แก่
           ระเบียบ/ ประกาศ/ข้อบังคับ และกรณีเรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งหมดนี้ที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ  “กฎหมาย”(ตามข้อ
1 หรือ 2
          ตามข้อ
1.  เรียกอีกว่ากฎหมายแม่บท  ข้อ 2-3   เรียกว่ากฎหมายลำดับรอง
...............................................................
           “ระเบียบปฏิบัติภายใน” หรือ“ระเบียบภายใน” ได้แก่ คำสั่ง /ระเบียบ และกรณีเรียกชื่ออย่างอื่น จะออกโดยอาศัยอำนาจตาม”อนุบัญญัติ”(ข้อ
3)หรือไม่ก็ได้  ที่สำคัญคือออกโดยไม่ได้อาศัยอำนาจของ “กฎหมาย”(ข้อ1,2)

กฎหมาย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ฉะนั้นนับตั้งแต่กฎกระทรวงไล่ย้อนขึ้นไปจนถึงรัฐธรรมนูญ ทุกคนต้องปฏิบัติตามนั้นจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้    
อนุบัญญัติ หากมีบทบัญญัติในอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องบุคคลใดหรือหน่วยงานใด ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหรือไม่     
ข้อพิจารณาดังนี้คือ  ตามหลักอำนาจอธิปไตยมี ๓ หลัก คือนิติบัญญัติ  บริหาร  และตุลาการ เป็นอำนาจที่แยกออกจากกัน เช่นนิติบัญญัติมีอำนาจออกกฎหมาย บริหารจะไม่มีอำนาจออกสิ่งที่เรียกว่ากฎหมาย  การที่ฝ่ายบริหาร(กระทรวง)ออกพระราชกฤษฎีกา/ กฎกระทรวง ไล่ลงมาจนถึงระเบียบ/ ประกาศ/ข้อบังคับฯได้ เพราะได้รับการมอบอำนาจมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ(สภาฯ)วิธีการมอบอำนาจก็โดย สภาเมื่อออกกฎหมายเช่น ออกพระราชบัญญัติ จะมีมาตราที่กำหนดให้ฝ่ายบริหาร(กระทรวง)มีอำนาจออก กฎกระทรวง ข้อบังคับ  ระเบียบประกาศได้[1] ตรงนี้ถือว่า  การที่รมต.เจ้ากระทรวงไปออก กฎกระทรวง ประกาศฯเหล่านี้เป็นการออกโดยอาศัยอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่มอบอำนาจให้ตนอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นตามหลักการมอบอำนาจ  ถือว่าฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาฯ(ผู้มอบอำนาจ)  ยังคงเป็นผู้ออก จึงถือว่าสิ่งที่ออกมาเป็นกฎหมาย(เพราะถือว่าสภาฯเป็นผู้ออกโดยอ้อม) สรุปได้ว่าเมื่อถือว่าอนุบัญญัติเป็นกฎหมาย  บุคคลหรือหน่วยงานราชการหากมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องถึงตน ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น

หากกฎหมายแม่บทบอกถึงการมอบหมายให้ฝ่ายบริหารสามารถออกอนุบัญญัติแทนไว้ชัดแจ้ง เช่นบอกว่า “อาศัยอำนาจตามความในมาตรา...” เช่นนี้ย่อมไม่มีปัญหา  แต่ถ้าไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจไว้หรือบอกไว้ไม่ชัดแจ้ง..กรณีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ระเบียบ/ ประกาศ/ข้อบังคับ/คำสั่ง  ทั้งหลายนี้ เป็น “อนุบัญญัติ” หรือเป็น “ระเบียบปฏิบัติภายใน”  กล่าวคือหาก ระเบียบ/ ประกาศ/ข้อบังคับ/คำสั่ง  นั้นๆมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องเราๆ ต้องปฏิบัติตาม หรือไม่ อย่างไรนั้น  ขอได้โปรดติดตามได้ในฉบับหน้าครับ






[1] เช่นพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม .. 2551 มาตรา๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ไม่มีความคิดเห็น: